ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น

1.วัดจุฬามณี

            ซึ่งมีเกจิชื่อดัง คือ หลวงพ่อเนื่อง ในด้านวิชาอาคมลูกศิษย์ลูกหาของท่านจะมาขอความเมตตาขอใบมะนาวเสกจากหลวงพ่อ ซึ่งใบมะนาวเสกถือเป็นของขลังที่หลวงพ่อมักจะหยิบยื่นให้กับผู้ที่ไปกราบไหว้อธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ปรารถนา ซึ่งศพท่านไม่เน่าไม่เปื่อย อยู่ในโลงแก้วมีผู้ที่เคารพนับถือเดินทางมากราบไหว้ไม่ขาดสาย และทั้งยังปีรูปปั้นองค์ปู่ท้าวเวสสุวรรณโณ ที่ผู้คนมากราบไหว้สักการะทั่วประเทศ

alt

alt

alt

2.วัดดาวดึงษ์

         วัดดาวดึงส์เป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ริมคลองดาวดึงส์ หมู่ที่ 6 ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่ 37 ไร่ เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดสมุทรสงคราม อีกแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะอุโบสถหลังเก่ามีรูปทรงและก่อด้วยอิฐขนาดใหย่ เช่นเดียวกับวัดจุฬามณี พระประธานอุโบสถ แกะสลักจากศิลาแลงศิลปะอยุธยา

          วัดดาวดึงส์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า ประมาณ พ.ศ.2100 ตั้งอยู่ถนนบางแพ – สมุทรสงคราม ติดคลองดาวดึงส์ ประกาศเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2124 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2494 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสวัดนี้ 2 ครั้ง คือ

          ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2447 ประทับเสวยพระกระยาการบนศาลาการเปรียญ

          ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2452 ประทับที่หน้าศาลาหน้าวัดแล้วเสด็จต่อไปที่ตำบลท่าคา (ต่อมาศาลาหลังเดิมทรุดโทรมไปมากและปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเก่าแล้ว)

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี) เสด็จวัดดาวดึงส์ สมัยที่หลวงพ่อทัด เป็นเจ้าอาวาส เสด็จครั้งหลังพระราชทานเงิน 3 ตำลึง ถวายพระสงฆ์ที่สวดชยันโตต้อนรับ และทรงตั้งกำนันตำบลท่าคา เป็นหมื่นปฏิคมท่าคา (จันทร์) เป็นต้นตระกูล “จันประภา” การเสด็จครั้งนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงลืมธารพระกร (ไม้เท้า) ไว้ หลวงพ่อชุ่มวัดดาวดึงส์ ได้นำลงเรือไปถวายคืนที่ตำหนักภาโนทยานใกล้วัดพวงมาลัย ทรงให้เงินหลวงตาชุ่ม 6 บาท

           ในคราวที่เสด็จมาครั้งหลังนี้เอง เมื่อ พ.ศ.2452 พระองค์เจ้าชายอุรุพงษ์สมโภชสิ้นพระชน ทางสำนักพระราชวังได้มีฎีกามาอาราธนา หลวงพ่อทัด วัดดาวดึงส์และหลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ ไปในงานพระราชทานเพลิงศพด้วย เสร็จพิธีแล้วทรงพระราชทานเรือสำปั้น 3 กระทง ให้หลวงพ่อทัดลำหนึ่ง หลวงพ่อทัด ใช้เรือลำนี้ออกบิณฑบาตอยู่เสมอ ถึงเวลานี้ชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้แล้ว

          ระยะก่อน พ.ศ.2500 มีหลวงพ่อไว เป็นเจ้าอาวาส ท่านมีความสามารถรักษาคนที่สติไม่ดีให้หายได้ ท่านมรณภาพเมื่ออายุ 88 ปี

          ต่อมามีหลวงพ่อง้อ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อคง รุ่นสุดท้าย ท่านมรณภาพ เมื่อ ปี พ.ส.2550 และเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือพระปลัดดิเรก นราสโภ ซึ่งท่านได้บวชเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุ ประมาณ 15 – 16 ปี จนถึงปัจจุบัน

          วัดดาวดึงส์ดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถของเจ้าอาวาส และพุทธศาสนิกชน ให้ความรวมมือ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ประมาณ ปี พ.ศ.2560 พระครูไวย ธมมสโร เป็นเจ้าอาวาส วัดมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการทำนุบำรุงศาสนสถานต่าง ๆ เช่น มีการสร้างอุโบสถหลังใหม่ ทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ทำการรื้อย้ายปรับสภาพกุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอกลางและอื่น ๆ อีกมากมาย ดังที่ประจักษ์มาถึงทุกวันนี้

        คลองดาวดึงษ์ เป็น 1 ในแม่น้ำ 5 สาย หรือ เบญจสุทธิคงคา ที่เป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามโบราณราชประเพณี ในการประกอบพิธีมงคลต่างๆ โดยเฉพาะในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต ประกอบด้วย

           1.แม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์แขวงเมืองนครนายก

           2. แม่น้ำป่าสัก ตักที่ ต.ท่าราบ แขวงเมืองสระบุรี

           3. แม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่บางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง,

           4.แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ ต.ท่าไชยแขวง เมืองเพชรบุรี

           5.แม่น้ำราชบุรี ตักที่ ต.ดาวดึงษ์ แขวงเมืองสมุทรสงคราม หรือที่วัดดาวดึงษ์

alt

alt

alt

alt

3.วัดพระยาญาติ

            เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในหมู่ที่ 7 บ้านวัดปากง่าม ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่บริเวณจุดบรรจบระหว่างคลอง 3 คลอง ได้แก่ คลองดาวดึงษ์ คลองวัดจุฬามณี และคลองอัมพวา ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดปากง่าม ในปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระอธิการใจ ฐิตาจาโร มีบันทึกว่าวัดพระยาญาติตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2343 แต่คาดว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เจ้าคุณบางช้าง (แก้ว) และสามีคือพระแม่กลองบุรีได้มาปฏิสังขรณ์ไว้ครั้งหนึ่ง แต่ต่อมาวัดได้ทรุดโทรมลง สมัยกรุงธนบุรี กรมขุนกษัตรานุชิตหรือเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ร่วมกับพระญาติพระวงศ์ของท่านได้บูรณะขึ้นมาใหม่ เพื่อน้อมเกล้าถวายแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522

alt

alt

4. วัดอลงกรณ์

            วัดอลงกรณ์ ตั้งอยู่บ้านคลองลัดตาโชติ หมู่ที่ 1 ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีชื่อเดิมว่า “วัดใหม่ตากรณ์”  เนื่องจากมีผู้อุทิศที่ดินที่สร้างวัด คือนายกรณ์ นางจาด ขอตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2430 โดยสองสามีภรรยาผู้สร้างวัดได้สร้างโบสถ์และศาลาการเปรียญ หอกลาง 2 หลัง และกุฏิสงฆ์ 6 หลัง ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาสร้างกุฏิสงฆ์อีก 2 หลัง เมื่อได้สร้างเสร็จแล้วได้ไปอาราธนาพระอาจารย์แย้มจากวัดใหม่ท้องคุ้งมาเป็นเจ้าอาวาสและท่านได้เป็นผู้จัดงานผูกพัทธสีมาขึ้น และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2438 เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น “วัดอลงกรณ์”

            วัดนี้ได้เจ้าอาวาสล้วนเป็นวัดนักพัฒนา ได้ปฏิสังขรณ์และบูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรืองสืบทอดต่อ ๆ กันมา จากพระอาจารย์แย้ม เป็นพระอธิการทองสุข พระอธิการทองคำ จนฺทโชโต จนถึงเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระใบฎีกาขวัญชัย นฺนทิโย

          วัดอลงกรณ์ จึงนับได้ว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง พระสงฆ์อยู่ในศีลาจารวัตรเสมอมา มีทั้งการพัฒนาและทำนุบำรุงในด้านต่าง อาทิเช่น ทำนุบำรุงศาสนสถาน วัตถุ ศาสนธรรม ส่งเสริมการศึกษา เป็นต้น พุทธศาสนิกชนมีความเลื่อมใสศรัทธา เข้าวัดทำบุญ ร่วมกันทำนุบำรุงวัดอยู่เสมอ

          สิ่งสำคัญของวัดอลงกรณ์

                   1. พระประธานในพระอุโบสถเป้นพระพุทธรูปหล่อทองเหลือง ปางมารวิชัย

                   2. อุโบสถทรงไทยไม้สักสวยงามและหายาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

                   3. วิหารหลวงปู่ฤทธิชัยรณฤทธิ์

                   4. มีต้นอินจัน ซึ่งเป็นไม้โบราณที่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว สมัยนี้หาดูได้ยากแล้ว

alt

alt

alt

5. วัดช้างเผือก

                   วัดช้างเผือก ตั้งอยู่บ้านคลองสวนหลวง หมู่ที่ 5 ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่  14 ไร่ 95 ตารางวา วัดช้างเผือกนับได้ว่าเป็นวัดโบราณอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม  ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.ใด แต่สันฯษฐานว่าวัดนี้สร้างมาแล้วประมาณ 300 ปีเศษ เริ่มประกาศเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.2235 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ 12 กรกฎาคม พ.ศ.2531 วัดช้างเผือก มีการเล่าขานถึงประวัติว่า ที่มีชื่อวัดช้างเผือกนั้น เพราะบริเวณของวัดเป็นที่หลบซ่อนอาศัยของช้างเผือกในสัมยทำสงครามกัน ตามที่คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบกันมาว่าภายในวัดมีอุโบสถหลังเดิมเป็นอาคารทรงไทยทำด้วยไม้สักและมีเสาตลุงช้างสำหรับผูกช้างเผือก ด้วยระยะเวลาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปัจจุบันเสาถดังกล่าวถูกดินทับถมเสาจมอยู่แถวหน้าอุโบสถ มีคลองอยู่ใกล้วัดเรียกว่าคลองช้าง จนถึงทุกวันนี้ ที่เล่าสืบต่อกันมาอีกหลักฐานหนึ่ง ระบุว่า เดิมเป็นทางเดินของช้างเดินลงอาบน้ำและกินน้ำในแม่น้ำแม่กลองจนกลายเป็นคลอง คลองช้างนี้มีระยะทางประมาณ 600 เมตร (15 เส้น) จากริมแม่น้ำแม่กลองลึกเข้าไปจรดบริเวณเขตวัด ต่อมาผู้สร้างวัดนี้จึงนำเอาชื่อของช้างเผือกมาตั้งเป็นชื่อวัด เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน

                   การปฏิสังขรณ์วัดในระยะแรก ๆ ไม่ปรากฏหลักฐานผู้ปฏิสังขรณ์ แต่เข้าใจว่าประชาชนในย่านใกล้เคียงวัด ได้ร่วมใจกันปฏิสังขรณ์ต่อ ๆ กันมา ในระยะต่อมาสมัยพระธิการรุณเป็นเจ้าอาวาสได้เป็นผู้นำในการปฏิสังขรณ์และมีขุนศรีคชนิคม (นุ่ม) กำนันตำบลบางช้าง เป็นผู้อุปถัมภ์ มีการปฏิสังขรณ์วัด และมีการสร้างปูชนียสถาน เช่น พระป่าเลไลย์ หอสวดมนต์ หอไตร โต๊ะปาฏิโมกข์ ศาลาขวาง 9 ห้อง กุฏิศาลาท่าน้ำ ซ่อมแซมอุโบสถที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น

                   ต่อมาแม้พระอธิการรุณได้มรณภาพแล้ว ขุนศรีคชนิคม ยังเป็นผู้นำในการปฏิสังขรณ์ร่วมกับประชาชนในย่านใกล้เคียงสืบต่อมา จนขุนศรีคชนิคมยังเป็นผู้นำในการปฏิสังขรณ์ร่วมกับประชาชนในย่านใกล้เคียงสืบต่อมา จนขุนศรีคชนิคมวายชนม์ลง นางงิ้ว เนติพัฒน์ ผู้เป็นภรรยาของขุนศรคชนิคม ได้เป็นผู้ปฏิสังขรณ์ต่อมา เช่น เป็นหัวหน้าจัดการสร้างสะพานข้ามลำคลองสวนหลวงขึ้นใหม่ ให้มั่นคงแข็งแรงกว่าเดิมเพราะสะพานเดิมชำรุดทรุดโทรมและเล็กมากไม่เหมาะสมที่จะเป็นสาธารณะประโยชน์ จนสำเร็จเรียบร้อย คุณงามความดีของนางงิ้ว เนติพัฒน์ นี้ ทำให้ท่านได้รับโล่เงินลงยาเป็นเครื่องหมายตอบแทนเกียรติคุณ คุณงามความดี จากสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เมื่อนางงิ้ว เนติพัฒน์ ได้ถึงแก่กรรมลง นางทองคำ เหมศรีชาติ บุตรสาวซึ่งเป็นภรรยาของ นายสวัสดิ์ เหมศรีชาติ อดีตอัยการจังหวัดกระบี่ ได้เป็นผู้นำในการปฏิสังขรณ์ และซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น เช่น สร้างสะพานท่าน้ำคอนกรีตพร้อมบันได ติดช่อฟ้าคอนกรีตศาลาท่าน้ำ บูรณะองค์พระเจดีย์หน้าวัดซ่อมแซมสะพานข้ามคลองสวนหลวง เป็นต้น นับว่านางคำ เหมศรีชาติ ได้เป็นผู้นำการปฏิสังขรณ์วัดสำคัญคนหนึ่ง สืบแทน นางงิ้ว ผู้เป็นมารดาสืบต่อมาตามลำดับ

                 สิ่งสำคัญภายในวัดช้างเผือก

                   1. พระประธานในอุโบสถหลังเก่า เป็นพระปูนปั้นปางมารวิชัยและพระพุทธรูปหล่อปางอุ้มบาตรหุ้มด้วยทองขาว โดยอุโบสถหลังเก่ามีคุณค่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

                   2. บริการอบสมุนไพรฟรีให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งในแต่ละวันมีผู้เดินทางมาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นจำนวน

alt

alt

6. วัดลังกา 

         วัดลังกาตั้งอยู่ที่บ้านลังกา เลขที่ 34 หมู่ที่ 8 ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่ เป็นวัดโบราณอีกแห่งหนึ่ง เล่าว่าพื้นที่บริเวณสร้างวัดเดิมเป็นป่าช้า รกไม่มีเจ้าของ มีแขกสองรูป พูดไทยไม่ได้มาพักอาศัย เจ้าบ้านเกิดความศรัทธา จึงสร้างกุฏิเล็ก ๆ 2 หลัง ถวายเป็นที่พักอาราธนาให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ ที่นี้ พระ 2 รูป ได้อยู่มาจนมรณภาพ ในระหว่างนั้นมีพระภิกษุจากสำนักอื่นมาพักอาศัยด้วย ต่อมาวัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ และสร้างถารวัตถุศาสนสถาน โดยความรวมถึงทั้งฝ่ายสงฆ์และชาวบ้านในตำบลนี้ เพื่อขอตั้งเป็นวัดเมื่อ ปี พ.ศ.2374 จึงตั้งชื่อว่า วัดลังกา เพื่อเป้นอนุสรณ์แก่พระแขก 2 รูป นั้น วึ่งเข้าว่าจะเป้นพระที่มาจากอินเดีย หรือศรีลังกา มีการก่อสร้างพระอุโบสถและพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระปางนาคปรก ที่สร้างมาพร้อมกับการตั้งวัด

          ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกัน ทำนุบำรุงวัดแห่งนี้เรื่อยมา จนมีความเจริญเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

alt

alt

alt

7. วัดบางพรหม

          วัดบางพรหม ตั้งอยู่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีเนื้อที่ทั้งหมด 6 ไร่เศษ วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่โบราณ สร้างเมื่อประมาณเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดยได้ประกาศจัดตั้งเป็นวัด เมื่อปี พ.ศ.2325 และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2350 มีผู้กล่าวไว้ว่า วัดนี้มีเชื้อพระวงศ์องค์หนึ่ง ไม่ทราบพระนามแน่ชัด ได้ซื้อที่ดินเอกชนที่อยู่ริมคลองบางช้างและริมแม่น้ำประมาณ 6 ไร่ สร้างวัดขึ้น และตั้งชื่อว่า วัดบางพรหม มีผู้กล่าวไว้ว่าเชื้อพระวงศ์องค์นี้ทราบเพียงมีพระนามว่า พรหม ซึ่งเป็นเวลานานมาแล้วไม่สามารถจะค้นคว้าอย่างละเอียดกว่านี้ได้

          สิ่งสำคัญในวัด

                   1. พระประธานในอุโบสถแกะสลักด้วยศิลาแลง ปางมารวิชัย สร้างมาพร้อมกับการสร้างวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง หน้าอุโบสถมีพระพุทธรูปเก่าแก่ทรงเครื่องงดงามและศักดิ์สิทธิ์

                   2. เจดีย์ใหญ่บรรจุพระพุทธรูปเนื้อทอง นาค เงิน 1 องค์ สร้างมาพร้อมกับวัด และทางวัดได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่สีทอง

                    3. วิหารหลังวัด หรือวิหารปราสาท (พ.ศ.2172 – 2199) มีพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ 2 องค์ เนื้อศิลาแลงปางมารวิชัย

alt

alt

8. บ้านเบญจรงค์บางช้างเครื่องปั้นดินเผาศิลาดล

               ตั้งอยู่ 51/2 หมู่ 9 ซอยวัดลังกา ถ.สมุทรสงคราม – บางแพ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

alt

alt

alt

alt

9. ปิ่นสุวรรณเบญจรงค์

          ปิ่นสุวรรณเบญจรงค์เป็นกิจการของ คุณวิรัตน์ ปิ่นสุวรรณ ที่มีความสนใจในศิลปะ โบราณวัตถุ มานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ได้ตระเวรหาซื้อของเก่าประเภทถ้วยชามโบราณ เครื่องสังคโลก และเครื่องเบญจงค์ต่าง ๆ จากชาวบ้านไปจำหน่าย และซ่อมแซมโบราณวัตถุที่ชำรุด ต่อมาได้ทดลองปั้นดินเผาและพัฒนาเทคนิคการเผา การเคลือบ การเขียน และการลงสี ตามกรรมวิธีดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ ออกจำหน่วย ได้ถ่ายทอดฝีมือสู่ลูกหลานและผู้ที่สนใจ ต่อมาได้ตั้งโรงงาน “ปิ่นสุวรรณเบญจรงค์” สร้างสรรค์ในการผลิตผลงานด้านเครื่องเบญจรงค์ มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ในวงการศิลปหัตถกรรมจนได้รับโล่ของวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกาศเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมภาคกลางตอนล่าง สาขาศิลปะ การช่างศิลปะ และช่างฝีมือจังหวัดสมุทรสงคราม ปิ่นสุวรรณเบญจรงค์เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตเบญจรงค์ลายโบราณ ที่เป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาฝึกอบรมพัฒนาฝีมือช่าง ด้านการผลิตเครื่องเบญจรงค์ ทั้งถ้วยโถโอชาม และเครื่องประดับสำหรับผู้ที่สนใจ ซึ่งมีนิทรรศการเรื่องราวประวัติการอนุรักษ์เบญจรงค์ลายโบราณ ของ คุณวิรัตน์  ปิ่นสุวรรณ เป็นที่จัดแสดงและจำหน่วยผลิตภัณฑ์เบญจรงค์ทั้งเครื่องใช้และเครื่องประดับสมัยใหม่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง

alt

 

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Indonesian Japanese Korean Vietnamese


นายทศพล ชื่นจิต
นายกอบต.บางช้าง
081-4498878

 


mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้176
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้173
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้1155
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว1096
mod_vvisit_counterเดือนนี้3402
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว9073
mod_vvisit_counterทั้งหมด107358

We have: 3 guests online
IP: 3.147.73.35
วันนี้: เม.ย. 20, 2024

















เว็บไซต์ที่น่าสนใจ


























QR Code
อบต.บางช้าง


Line
อบต.บางช้าง


ลิขสิทธิ์ © 2562 องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โทร. 0-3475-3274 โทรสาร. 0-3475-3275